รู้จัก
PRTR คืออะไร ?
กฎหมายที่กำหนดให้มีการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเปิดเผยต่อสาธารณชนเกี่ยวกับชนิดและปริมาณของสารเคมีหรือมลพิษที่มีการปลดปล่อยจากแหล่งกำเนิดมลพิษสู่ตัวกลางสิ่งแวดล้อม ทั้งอากาศ ดิน น้ำ รวมถึงข้อมูลการนำน้ำเสียหรือของเสียที่มีสารเคมีหรือมลพิษออกจากแหล่งกำเนิด ไปบำบัดหรือกำจัด
ทำไมต้องมีกฎหมาย
ภาพรวม
หลายประเทศมีใช้
กว่า “50 ประเทศ” ทั่วโลกมีการใช้กฎหมายนี้ เพื่อควบคุมแก้ไขปัญหามลพิษ คุ้มครองสุขภาพ ประชาชนและสิ่งแวดล้อม ขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายนี้
ปกป้องสิทธิ
รับรองสิทธิของชุมชนและประชาชนในการเข้าถึง รับรู้และตรวจสอบข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม และสารเคมีอันตราย
ประชาชนปลอดภัย
ประชาชนสามารถรู้ข้อมูลแหล่งที่มาของมลพิษและประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้จากทุกที่ สามารถเลือกที่อยู่อาศัยโดยรู้ถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากสารมลพิษรอบตัวและเตรียมการรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นจากสารมลพิษได้อย่างปลอดภัย
เพิ่มพลังผู้เกี่ยวข้อง
ทำให้สามารถประเมินสถานการณ์และปัญหา มลพิษได้อย่างถูกต้องและสามารถจัดการปัญหาได้อย่างทันท่วงที
ฐานข้อมูล + เครื่องมือแก้ปัญหา:
เป็นฐานข้อมูลประกอบวางแผนการป้องกันสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนและฐานข้อมูล เพื่อประเมินศักยภาพการรองรับมลพิษของพื้นที่ (carrying capacity) รวมถึงเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรมใช้สารเคมีอย่างมีประสิทธิภาพและเครื่องมือปกป้องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน
ประโยชน์ต่อประชาชน
- เป็นเครื่องมือส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อจัดการปัญหามลพิษ
- เป็นเครื่องมือส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อตัดสินใจต่อการดำเนินโครงการซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่
- เป็นเครื่องมือช่วยให้เข้าถึงข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการป้องกันตนเองและชุมชน
- เป็นเครื่องมือในการป้องกันตนเองจากมลพิษเมื่อเกิดอุบัติภัยสารเคมี
ประโยชน์ต่อรัฐ
- ทราบสถานการณ์และแนวโน้มการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมที่อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนและชุมชน
- เป็นฐานในการกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
- เป็นฐานในการกำหนดแนวทางวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ
- เป็นเครื่องมือในการติดตามตรวจสอบการบังคับใช้กฎหมายและการดำเนินการตามนโยบายและแผนงาน รวมถึงการวางแผนรองรับเหตุฉุกเฉิน
- มีข้อมูลในการปรับปรุงระบบการติดตามโรงงานและ แหล่งกำเนิดมลพิษทุกประเภทให้มีมาตรฐาน
- สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหามลพิษร่วมกับหน่วยงานรัฐ
- เป็นเครื่องมือหนึ่งในการลดความเสี่ยงภัยจากสารเคมีและสารมลพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมตามอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อมซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันและเป็นไปตามหลักการของปฏิญญาริโอเพื่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา และแผนปฏิบัติการ 21เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทางสังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535
ประโยชน์ต่อภาคเอกชน (อุตสาหกรรม)
- เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเป็นตัวอย่างที่ดีในด้านความ เปิดเผย โปร่งใส และมีความรับผิดชอบต่อสาธารณะ นำไปสู่การลงทุนที่ยั่งยืนอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างสงบ สุข
- ป้องกันความสูญเสียและกระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรมใช้สารเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ
- เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินกิจการในระยะยาวลดการปลดปล่อยสารมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม
- ช่วยให้ภาคเอกชนสามารถตรวจสอบระบบและกระบวนการผลิตของตนให้รัดกุมเพื่อความปลอดภัยในการทำงานในพื้นที่อุตสาหกรรมและป้องกันความสูญเสียจากอุบัติภัยจากสารเคมี
ทำงานอย่างไร
เลื่อน
เพื่อสำรวจ
เลื่อนเพื่อสำรวจ
เรื่องนี้สำคัญอย่างไร
การตรากฎหมายเพื่อพัฒนาระบบการรายงานข้อมูลการปล่อยและการเคลื่อนย้ายสารมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม
สร้างฐานข้อมูลสารมลพิษที่ครอบคลุมและเป็นระบบ
เสริมสร้างประสิทธิภาพและความเข้มแข็งแก่หน่วยงานของรัฐในการประเมินสถานการณ์ปัญหามลพิษได้อย่างถูกต้อง
สร้างฐานข้อมูลที่ดีเพื่อประกอบการวางแผนการป้องกันสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
และสามารถจัดการปัญหาตั้งแต่ต้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
รับรองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูล
และมีส่วนร่วมในการคุ้มครอง ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
เกี่ยวกับเว็บไซต์
เว็บไซต์นี้ได้รับการสนับสนุนทุนเพื่อดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) ซึ่งทางทีมงานมี ความตั้งใจที่จะพัฒนาให้เป็น Open Source และเปิดข้อมูลเป็น Open Data ภายใต้เงื่อนไข Creative Commons Attribution-ShareAlike License คือสามารถนำไปเผยแพร่และดัดแปลงได้ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และต้องเผยแพร่ งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกัน หากมีข้อสงสัย ต้องการสอบถามเพิ่มเติม หรือมีข้อเสนอแนะใด ๆ สามารถ ติดต่อได้ที่ team [at] punchup.world